Virginia Woolf – A Biography | Quentin Bell

review by Kukee

Virginia Woolf – A Biography | Quentin Bell

ประเด็นสงครามถูกหยิบยกมาพูดบ่อยครั้งในจดหมายฉบับสุดท้ายของเวอร์จิเนีย วูลฟ์ สาเหตุมาจากการตีความของหนังสือพิมพ์ยุคนั้น ศพของเธอถูกพบในวันที่ 18 เมษายน 1941 ริมแม่น้ำอูสที่ร็อดเมล (เจอกัอนหินในกระเป๋าเสื้อและนาฬิกาตายเวลา 11.45 นาที) สามอาทิตย์หลังจากที่เธอใส่เสื้อโค้ทถือไม้เท้าแล้วบอกสามีว่าจะออกจากบ้านไปเดินเล่น เลโอนาร์ดให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ชันสูตรในวันนั้นพร้อมจดหมายที่เธอเขียนไว้ (ที่จริงเขียนไว้ 2 ฉบับ) เจ้าหน้าที่สรุปว่าฆ่าตัวตายขณะสภาพทางจิตไม่ปกติโดยระบุว่าจมน้ำและให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าทุกคนรู้จักผลงานของเธอดี คนที่มีความรับผิดชอบแบบเธอคงรู้สึกถึงความหนักหนาสาหัสของสงครามมากกว่าคนอื่น เลยทำให้ปัญหาเดิมกำเริบ

หนังสือพิมพ์หลายฉบับพาดหัวว่าเธอเป็นเหยื่อของสงครามโหดร้าย (Sussex Daily รายงานว่า “Sussex novelist victim of war stain” ตามด้วยฉบับอื่นที่ก็อปปี้ข้อมูลแบบด้านบน)

these terrible times ในจดหมายหมายถึงอาการป่วยทางประสาทรุนแรง เธอทนทุกข์ทรมานจากโรค “acute neurasthenia” (Bipolar Disorderในปัจจุบัน) ตลอดชีวิต มีอาการซึมเศร้า ปวดหัวปวดหลัง น้ำหนักลด กินไม่ได้นอนไม่หลับ จิตหลอน หูแว่ว เป็นอาการทางประสาทที่เธอบอกว่าเหมือนเป็นบ้า เคยล้มป่วยนอนติดเตียงยาวนานเป็นปีหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 1895 ที่แม่เธอและคนในครอบครัวเสียชีวิตติดต่อกันเจ็ดปี วูลฟ์ต้องหาหมอเป็นสิบคนและกินยานับไม่ถ้วน เธอบอกว่าเธอเป็นบ้าแต่จริงๆแล้วเธอเป็นคนปกติที่เฉลียวฉลาด ไม่ได้อ่อนแอหรือคลุ้มคลั่ง กลับรู้จักคิดและเข้าใจลึกซึ้งถึงธรรมชาติมนุษย์ สิ่งที่ได้จากความเจ็บป่วยคือภาษามหัศจรรย์ของเธอ

สงครามอาจมีส่วนสร้างความมืดมิดให้วูลฟ์แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เธอย้ายมาอยู่ชนบทที่ร็อดเมลตอนต้นสงครามโลก กลับไปเยี่ยมบ้านที่บลูมส์เบอร์รี่อยู่บ้างจนตอนหลังระเบิดลงลอนดอนบ้านพังไปสองหลัง ก่อนที่เธอจะเสียชีวิตเธอเขียนนิยาย Between the Acts เพิ่งจบ และมีอาการให้เห็นล่วงหน้าเป็นเดือน จดหมายหลายฉบับที่เธอเขียนหาเพื่อนระบุว่าเธอกลัวเป็นบ้าอีกแล้วจะทนไม่ไหว แต่ไม่ทันการเสียแล้ว

เลโอนาร์ดและวาเนสสาในตอนแรกไม่คิดจะแก้ต่าง แต่ประเด็นสงครามที่เล่นไม่เลิก เขาเขียนหาหนังสือพิมพ์ทั้งหลายถึงความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่และข้อมูลที่ถูกต้องของเวอร์จิเนีย วูลฟ์

สงครามกับเวอร์จิเนีย วูลฟ์ในสายตาของสื่อเลยไม่เคยห่างหายจากกัน จะเล่านิดเดียว ทำไมยาวไม่รู้..

“I meant to write about death, only life came breaking in as usual.”
From her Diary, 17 Febuary 1922

อ้างอิงจาก Virginia Woolf – A Biography by Quentin Bell
(เควนติน เบลล์เป็นลูกของวาเนสสา หลานของเวอร์จิเนีย วูลฟ์)
กับชีวประวัติยอดเยี่ยม Virginia Woolf by Hermione Lee