Cannery Row | John Steinbeck
“มันมีเรื่องน่าแปลกสำหรับผมอยู่อย่างหนึ่ง” ด็อคพูด “คือเรื่องที่เรานิยมชมชอบเพื่อนมนุษย์ในความเมตตา เอื้อเฟื้อ เปิดเผยและสุจริตใจ มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจนั้น เขามักจะต้องเป็นผู้ประสบความล้มเหลวในการงานของเขาควบคู่เสมอ แต่สิ่งที่เราชิงชัง คือการเอาเปรียบ โลภมากอยากได้ไม่รู้จักพอ ตระหนี่ โอ้อวด และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนนั้น กลับเป็นคุณลักษณะของความสำเร็จไป ขณะที่เราชื่นชอบคุณสมบัติประการแรก เราก็ดันรักผลิตผลในประการที่สอง”
วิมานคนยาก (Cannery Row, 1945) เล่าเรื่องชีวิตในย่านโรงงานปลากระป๋องที่ถนนโอเชียนวิว มอนเทรีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ก็อย่างที่สไตน์เบคบรรยายไว้ ว่าเป็นตำบลที่มีน้ำหนักแสงสีที่เหมาะสม เป็นถิ่นฐานที่แสดงนิสัยใจคอคน เป็นย่านของผู้มีจิตใจอ่อนไหว และเป็นดินแดนแห่งความฝัน ชาวมอนเทรีย์ดำเนินเรื่องหลักด้วยแม็คและพวกเด็ก ๆ ผู้ปรารถนาดีอยากจะทำอะไรสักอย่างให้ด็อคเพื่อนที่เขารักและไม่เคยหวังอะไรตอบแทน
ลี่จ็องเจ้าของร้านขายของชำ ดอร่าเจ้าของภัตตาคารธงหมีและนวลอนงค์ แซมมอลแห่งบ้านหม้อน้ำ มีความยำเปและสนุกสนานในความซื่อของพวกเขา แม้หนังสือจะไม่มีพล็อตแบบเป็นเรื่องเป็นราว แต่เสน่ห์คือการบรรยายสั้น ๆ ถึงฉากและตัวละครอันโดดเด่น ที่เผยผลัดหน้ากันมาสร้างความบรรเจิดจนอดหัวเราะตามไม่ได้
โดยเฉพาะฉากจับกบและงานเลี้ยงในวันที่เจ้าของไม่อยู่ ใครชอบอารมณ์ขันจากโลกีย์ชนของจอห์น สไตน์เบค (แปลโดยประมูล อุณหธูป -Tortilla Flat, 1935) เรื่องนี้ก็ไม่ต่างกัน
วิมานคนยาก แปลไทยครั้งแรกปี 2526 โดยณรงค์ จันทร์เพ็ญ